ทรินาโซลาร์พัฒนาโซลูชันโซลาร์เซลล์ หนุนเป้าหมายโครงการพลังงานสะอาด ตามแผน PDP 2024


กรุงเทพฯ – 2 กรกฎาคม 2567 : ทรินาโซลาร์ ผู้นำระดับโลกด้านผลิตภัณฑ์โฟโตวอลเทอิก (PV หรือโซลาร์เซลล์) และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS)  ซึ่งมีประสบการณ์กว่า 3 ทศวรรษในอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ ประกาศแผนกลยุทธ์เพื่อรุกตลาดพลังงานหมุนเวียนในไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ทั้งแผงโซลาร์เซลล์ ชุดปรับมุมเอียงตามแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงาน  เพื่อรองรับการใช้งานในภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการสาธารณูปโภค การพาณิชย์ อุตสาหกรรม รวมถึงภาคการผลิต การดูแลสุขภาพ และการบริการ ตลอดจนโครงการที่อยู่อาศัย พร้อมนำพาประเทศไทยบรรลุผลสำเร็จด้านพลังงานสะอาดได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ทรินาโซลาร์

จากข้อมูลตามแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) คาดการณ์ว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 51% ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 20% ในปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าพลังงานแสงอาทิตย์จะมีสัดส่วนประมาณ 70% ของพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด ขณะเดียวกันแผน PDP ยังระบุถึงมาตรการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response) ซึ่งมีความสำคัญและกระตุ้นให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ไฟฟ้าตามราคาที่แตกต่างกันตลอดทั้งวัน โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการลดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand)

สำหรับแผนโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะหรือสมาร์ทกริดของประเทศได้ตั้งเป้าลดความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดลง 1,000 เมกะวัตต์ และเพิ่มอีก 1,000 เมกะวัตต์ ผ่านการใช้แหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ (DER) ซึ่งรวมถึงระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็กและระบบกักเก็บพลังงาน (BESS) ซึ่งจะถูกรวมเข้ากับระบบไมโครกริดหรือโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อให้ได้แหล่งพลังงานที่มั่นคง

ทรินาโซลาร์
เดฟ หวัง  (ขวา) หัวหน้าอนุภูมิภาคประจำเอเชียแปซิฟิก ทรินาโซลาร์

เดฟ หวัง หัวหน้าอนุภูมิภาคประจำเอเชียแปซิฟิก ทรินาโซลาร์ กล่าวว่า ในส่วนพลังงานสะอาด รัฐบาลไทยมีเป้าหมาย 3 ประการ คือ 1.มีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20-25% ในปี 2573  2.บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 ช่วงนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่ทรินาโซลาร์จะเดินหน้าตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่มุ่งสู่พลังงานสะอาด เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วจากของทรินาโซลาร์ ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันครบวงจรเพียงหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรม ทั้งแผงโซลาร์เซลล์ ชุดปรับมุมเอียงตามแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงาน ช่วยลดต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์อย่างมากตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ทรินาโซลาร์ มีความพร้อมที่จะช่วยสนับสนุนประเทศไทยในการปลดล็อกศักยภาพและบรรลุเป้าหมายสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์

ทรินาโซลาร์

โดยแผงโซลาร์รุ่น Vertex N ได้ผสานสุดยอดเทคโนโลยี 2 ด้านเข้าด้วยกัน ได้แก่ เทคโนโลยี n-type i-TOPCon และเทคโนโลยีแผ่นเวเฟอร์ขนาด 210 มม. ทำให้มีกำลังการผลิตที่สร้างสถิติโลก คือ 740.6 วัตต์ ในห้องปฏิบัติการ และให้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น  การันตีด้วยรางวัลชั้นนำ  สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 95% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งเป็นอันดับ 1 ของโลก พร้อมกันนี้ทรินาโซลาร์ได้พัฒนาแผงโซลาร์กำลังสูงที่ทำงานได้อย่างลงตัวกับชุดปรับมุมเอียงตามแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน จนได้เป็นโซลูชันที่ทำงานได้อย่างเสถียรที่สุด นอกจากนี้ การจัดหาอุปกรณ์ทั้งหมดจากแหล่งเดียวยังสะดวกต่อการขนส่งและการให้บริการหลังการติดตั้งระบบด้วย

ทรินาโซลาร์ ยังให้ความสำคัญกับโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำและระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อสนับสนุนโครงการของรัฐบาลไทยในการผลักดันการใช้พลังงานทดแทนในกิจการพลังงานไฟฟ้า ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมทั่วโลก ด้วยใช้พื้นที่ว่างที่มีอยู่มากมายและอาศัยคุณสมบัติความเย็นตามธรรมชาติของน้ำ

ทรินาโซลาร์

เดฟ หวัง  กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กำลังเร่งบุกเบิกการผลิตพลังงานสะอาดด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน โดยมีแผนที่จะพัฒนาโครงการสำคัญอย่างโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดทั้งสิ้น 16 โครงการ มีกำลังการผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์  ปัจจุบันโครงการนำร่องที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ได้เริ่มดำเนินการแล้วด้วยกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์และ 24  เมกะวัตต์ ตามลำดับ โดยทรินาโซลาร์ ได้ดำเนินการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำขนาด 24 เมกะวัตต์ ที่เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้เริ่มใช้งานมาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 41,000 ตัน และผลิตไฟฟ้าได้ 46 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี รองรับการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 18,000 ครัวเรือน ทั้งนี้แผงโซลาร์ตระกูล Vertex ยังใช้งานในโซลาร์ฟาร์มสำคัญๆ หลายแห่งทั้งในประเทศอินเดีย มาเลเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์

ในประเทศไทย ทริโนโซลาร์โฟกัสใน 3 ตลาดสำคัญ  ได้แก่ โครงการสาธารณูปโภค เช่น โซลาร์ฟาร์ม โดยมีโครงการร่วมกับกฟผ.  2. ธุรกิจการค้าเชิงพาณิชย์ประเภทรีสอร์ท โรงแรม สนามบิน  ห้างสรรพสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรม 65%  โดยเน้นอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้ามาก และดาต้า เซ็นเตอร์  ซึ่งในปี 2571 ความต้องการใช้ไฟในดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มสูงขึ้นถึง  872%  และ 3.บ้านที่อยู่อาศัย 5%  ซึ่งตลาดที่อยู่อาศัยมาแรงและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ลีโอ จ้าว

ด้านลีโอ จ้าว  หัวหน้าฝ่ายการกักเก็บพลังงาน  ทรินาโซลาร์ เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า  ภาพรวมของตลาดระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) ในปี 2566-2573 เติบโต 21%  ซึ่งสูงกว่าแผงโซลาร์เซลล์และพลังงานลมรวมกัน ในปี 2566  ตลาดในประเทศจีนเติบโตมากที่สุด  ขณะที่เอเชียแปซิฟิกเติบโตสูงพอสมควร   เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำขึ้น ทำให้ผลิตไฟฟ้าต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงได้มากขึ้น ทำให้ราคาค่าไฟฟ้าถูกลง โดยในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ค่าไฟในจีนอยู่ที่่ 115 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วถึง 43%

ทรินาโซลาร์

การนำแบตเตอรี่มาช่วยกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินระหว่างวัน และจ่ายพลังงานเมื่อจำเป็น จะช่วยลดการพึ่งพาโครงข่ายไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ทำให้โครงข่ายไฟฟ้าบริหารจัดการได้อย่างยืดหยุ่น และสามารถจ่ายพลังงานได้อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวันและผลิตด้วยพลังงานน้ำในช่วงกลางคืน ขณะเดียวกัน BESS ก็จะช่วยกักเก็บการผลิตไฟฟ้าจากทั้งสองแหล่งในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน

ข้อดีอีกประการหนึ่งของ BESS ก็คือ สามารถรวมกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ไว้ในระบบกักเก็บพลังงานได้ด้วย เช่น ที่ผลิตจากพลังงานความร้อนและพลังงานลม และเมื่อใช้งานร่วมกับเซลล์แบตเตอรี่ LFP (Lithium Iron Phosphate) ความจุสูงอย่าง Trina Storage Cell ที่มีอายุการใช้งานราว 20 ปี ก็จะทำให้โครงการพลังงานทดแทนมีต้นทุนการกักเก็บพลังงานต่อหน่วย (LCOS) ลดลง และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยรวมแล้วแนวทางดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงการรักษาระดับโอกาสเกิดไฟฟ้าดับ (LOLE) และปรับปรุงความยืดหยุ่นทางพลังงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการให้บริการที่สำคัญ

ลีโอ จ้าว กล่าวว่า สำหรับตลาดระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ในไทย มีโครงการของกฟผ. ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ชัยภูมิและลพบุรี รวมทั้งสิ้น 41 เมกะวัตต์ ยังไม่รวมโครงการของกฟภ. (PEA) และกฟน. (MEA)  นอกจากนี้มีโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงานที่สำคัญมากของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)   ได้แก่ ERC Sand Box Project  ซึ่งมีทั้งระยะที่ 1 และที่ 2

ล่าสุด ทรินาโซลาร์ จะจัดแสดงโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ในงาน ASEAN Sustainable Energy Week (ASEW 2024 ) ณ  ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 3 – 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 โดยมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมากมายทั้งแผงโซลาร์รุ่น Vertex N, TrinaTracker Vanguard 1P ที่ปรับปรุงใหม่ และโซลูชันการกักเก็บพลังงาน เช่น Elementa 2 ขนาด 5MWh ซึ่งมาพร้อมเซลล์ LFP ความจุ 314Ah ที่เป็นลิขสิทธิ์ของทรินาโซลาร์ โดยเฉพาะ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save