นิ่วในไต (Kidney stones) อาการ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน


โรคนิ่วในไต พบได้บ่อยในผู้ป่วยทั่วไป ทั้งผู้ป่วยในวัยทำงานและผู้ป่วยสูงอายุ ส่วนใหญ่มักพบผู้ป่วยตามชนบทหรือต่างจังหวัดมากกว่าผู้ป่วยที่อยู่ในเมือง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการดื่มน้ำที่ไม่สะอาดพอหรือขาดความรู้ความเข้าใจในการดื่มน้ำหรือบริโภคอาหาร

นิ่วที่เกิดขึ้นในไตสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของไต ส่วนใหญ่มักจะพบนิ่วในกรวยไต เนื่องจากกรวยไตทำหน้าที่กลั่นกรองสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำดื่ม เพื่อขับออกกับน้ำปัสสาวะ ออกทางท่อไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะเพื่อขับถ่ายเป็นปัสสาวะออกจากร่างกาย ขณะเดียวกันนิ่วสามารถเกิดขึ้นกับส่วนอื่นของไต ที่เป็นเนื้อเยื่อรอบกรวยไตได้เช่นกัน สารตกค้างหรือตะกอนที่มากับน้ำดื่มที่ดื่มและอาหารที่รับประทานเข้าร่างกายในแต่ละวัน กรวยไตทำหน้าที่กลั่นกรองสิ่งสกปรกเหล่านี้ออก เมื่อมีมากเกินไปและมาเป็นประจำ ย่อมทำให้สารตะกอนเหล่านี้ตกค้างในกรวยไต เนื้อไต รวมถึงส่วนต้นของท่อไต และค่อยๆ สะสมจนเป็นเม็ดตะกอน หรือก้อนตะกอน เรียกว่า นิ่วในไต อาจมีขนาดเล็กระดับมิลลิเมตร หรือก้อนโตขึ้นในระดับเซนติเมตร อาจจะจับตัวแข็งมากหรือแข็งน้อย ขึ้นอยู่กับการจับตัวของก้อนนิ่ว หากมีแคลเซียมหรือหินปูนมาร่วมจับตัวด้วย จะมีลักษณะแข็งและก้อนนิ่วจะขยายใหญ่ขึ้นด้วย

อาการนิ่วในไต เมื่อมีสารตกค้างหรือตะกอนของสารอาหารจับตัวในไต อาการมักจะค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจไม่มีอาการในระยะแรก จนเมื่อนิ่วเกิดขึ้นมีขนาดที่จะก่ออาการชัดเจน เริ่มมีปัสสาวะขัด ต้องเบ่งเพื่อขับปัสสาวะมากขึ้น เมื่อมีอาการปวดหน่วงๆ บริเวณกระเพาะปัสสาวะ (บริเวณท้องน้อย) รวมถึงปวดเมื่อยบริเวณเอวส่วนด้านข้างหรือตลอดแผ่นหลังส่วนล่าง หากรุนแรงขึ้นปัสสาวะขัดและถ่ายลำบากจนถึงขั้นมีเลือดปนออกมาด้วย อาการปวดบั้นเอวรุนแรงมากขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาต่อไป เมื่อแพทย์ตรวจพบว่าเป็นนิ่วในไต จนถึงตรวจขนาดของก้อนนิ่วแและลักษณะของนิ่ว ในระยะแรก ที่ยังไม่รุนแรง ผู้ป่วยต้องดื่มน้ำมาก ไม่ต่ำกว่าวันละ 2 ลิตร (น้ำ 8 แก้ว หรือน้ำ 1 แก้วเท่ากับ 250 c.c. รวม 8 แก้วเท่ากับ 2 ลิตร) เพื่ออาศัยน้ำไปสลายก้อนนิ่วที่ยังมีขนาดเล็กและยังไม่จับตัวแข็งมากนัก นอกจากนี้อาจให้คนไข้กระโดดขึ้น-ลงเบาๆ เพื่อให้ก้อนนิ่วหลุดพ้นจากไปสู่กระเพาะปัสสาวะเพื่อขับออกจากปัสสาวะ ในกรณีนิ่วก้อนใหญ่และมีความแข็ง แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัดเอาก้อนนิ่วออก การรักษานิ่วในไตปัจจุบันไม่ยุ่งยากมากนัก แต่การป้องกันไม่ให้เกิดนิ่วย่อมจะดีกว่า

  1. ดื่มน้ำมากเป็นประจำวันละ 6-8 แก้ว ( 1 (1 )/2 – 2 ลิตร) เป็นอย่างน้อย
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ไตและกระเพาะปัสสาวะทำงานได้มั่นคงขึ้น
  3. ระดับอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ รวมถึงเครื่องในสัตว์ทุกชนิด เนื่องจากมีสารกรดยูริกที่ค่อนข้างสูง อันเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเกาต์ สารตกตะกอนของกรดยูริก ในกระแสเลือดมีโอกาสก่อให้เกิดนิ่วในไตได้นอกจากนี้การไม่อั้นปัสสาวะ หมั่นปัสสาวะออกทุก 1 ชม. หรือ 1 1/2 ชม. เพื่อน้ำปัสสาวะมีส่วนช่วยขับสารตกตะกอนออก ไตสะอาดขึ้น เป็นการป้องกันนิ่วในไตทางหนึ่ง

การป้องกันและปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด ช่วยป้องกันมิให้เกิดนิ่วในไตได้เป็นอย่างดี


ที่มา: หมอโฆษิต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save