ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าหัวใจสำคัญของระบบไฟฟ้าแห่งอนาคต ปลดล็อคไทยบรรลุเป้าหมายพลังงานที่ยั่งยืน มั่นคง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


ปัจจุบันประเทศไทยกำลังมุ่งสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ซึ่งมีข้อจำกัดในการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ ระบบกักเก็บพลังงานจึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเก็บพลังงานส่วนเกินในช่วงที่มีการผลิตมาก หรือ (Peak Load) และนำมาใช้ในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ทำให้ระบบไฟฟ้ามีความเสถียรและมั่นคง และช่วยให้การบริหารจัดการระบบไฟฟ้ามีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของไฟฟ้าดับ และรองรับการเติบโตของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนพลังงาน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ภัยธรรมชาติ ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน และพัฒนาเทคโนโลยี และช่วยให้ประชาชนเข้าถึงไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตและการพัฒนาสังคมโดยรวม ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบกักเก็บพลังงานในระบบไฟฟ้าถือเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตของประเทศไทยอย่างแท้จริง

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) จึงได้ร่วมกับสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน จัดเสวนาหัวข้อเรื่อง ระบบกักเก็บพลังงานในระบบไฟฟ้า : แนวโน้มเทคโนโลยี โอกาส และการใช้ประโยชน์  (Energy Storage in Power System : Technology Trend , Opportunities and Applications) โดยวิทยากรผู้มีความรู้และประสบการณ์ร่วมเสวนาบนเวที เพื่อถ่ายทอดความรู้ นำเสนอเทคโนโลยี และแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน ภาพรวมประโยชน์ การใช้งาน สถานการณ์การใช้งานปัจจุบันของระบบกักเก็บพลังงานในระบบไฟฟ้า และ กลไกสำคัญ ปัญหา อุปสรรค โอกาสและการใช้ประโยชน์จากระบบกักเก็บพลังงานในระบบไฟฟ้า ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567  ณ ห้อง Auditorium อาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ คลองเตย กรุงเทพฯ

ดร.ธัญญา  แพรวพิพัฒน์

ดร.ธัญญา  แพรวพิพัฒน์ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช. และ TESTA เปิดเผยว่า แบตเตอรี่ที่ใช้งานในระบบกักเก็บพลังงานในปัจจุบันมีหลากหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sodiam Sulfer Batteries แบตเตอรี่ที่มีขั้วลบเป็นโซเดียม ขั้วบวกเป็นซัลเฟอร์ และสามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวได้ ส่งผลให้แบตเตอรี่ชนิดนี้ทำงานได้ที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส จึงทำให้แบตเตอรี่ชนิดนี้มี Cycer life ที่ค่อนข้างยาวนาน รวมถึงอายุของวัสดุภายในแบตเตอรี่ที่มีราคาถูก  , Redox Flow Batteries แบตเตอรี่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากมีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 2-3 หมื่นรอบ ไม่ทำให้แบตเตอรี่มีการคายประจุส่วนตัวเอง และสามารถที่จะจ่ายพลังงานได้ถึง 10 ชั่วโมง และ Lithium Ion Batteries ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับการใช้งานเป็นหลักในระบบกักเก็บพลังงาน

นอกจากแบตเตอรี่ดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันยังมีแบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่กำลังเข้ามาในตลาด ก็คือ Sodiam Ion Batteries ซึ่งเป็นน้องของ Lithium Ion Batteries เนื่องจากมีพฤติกรรมการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน แม้ว่าจะมีกระบวนการทำงานที่แตกต่างกันก็ตาม Sodiam Ion Batteries มีพลังงานอยู่ประมาณ 140-150 Wh/Kg  ทำให้แบตเตอรี่ชนิดนี้ได้รับการทดลองโดยนำไปใช้งานในรถยนต์ขนาดเล็กที่วิ่งในระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก   ถือเป็นแบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่ภายใน 1-2 ปีนี้อาจจะเห็นว่าเป็นคอมเมอร์เชียลเพื่อนำไปใช้งานมากยิ่งขึ้น

ดร.จิราวรรณ  มงคลธนทรรศ

ดร.จิราวรรณ  มงคลธนทรรศ  นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช. กล่าวถึงภาพรวมประโยชน์ การใช้งาน สถานการณ์การใช้งานปัจจุบันของระบบกักเก็บพลังงานในระบบไฟฟ้าว่า สิ่งที่ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนระบบกักเก็บพลังงานในประเทศนั่นก็คือปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่จะได้รับอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยมีภาคพลังงานที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด เราจึงมีเป้าหมายสู่ Carbon Neutrality ในปี 2050 และแผน PDP ฉบับใหม่ในปีนี้ เพื่อเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี 2050 และ Net Zero ในปี 2065 ระบบกักเก็บพลังงานจึงมีส่วนช่วยให้เป้าหมายดังกล่าวสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับระบบกักเก็บพลังงานเป็นระบบที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้กลายเป็นพลังงานในรูปแบบหนึ่งเพื่อกักเก็บไว้ใช้งานในเวลาอื่นๆ เมื่อจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าระบบกักเก็บพลังงานจะแปลงพลังงานที่กักเก็บไว้กลับมาเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกครั้ง เพื่อจ่ายคืนสู่ระบบ โดยพลังงานที่กักเก็บไว้จะมีรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงานศักย์ พลังการกล พลังงานจล หรือกักเก็บในรูปแบบพลังงานไฟฟ้าเคมี ระบบกักเก็บพลังงานจึงถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ในระบบไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเป็นทั้งผู้ใช้และผู้สร้างได้ในตัวเดียวกัน ด้วยการย้ายพลังงานจากที่หนึ่งไปเก็บไว้ในอีกที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการย้ายเชิงพื้นที่ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า และการย้ายเชิงเวลา โดยเก็บในเวลาหนึ่งแล้วนำไปใช้ในอีกช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นระบบกักเก็บพลังงานจึงนิยมนำมาใช้ในยานยนต์ไฟฟ้าหรือใช้เพื่อการย้าย ทั้งนี้ ในระบบโครงข่ายไฟฟ้าสามารถนำระบบกักเก็บพลังงานมาใช้งานเพื่อชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ชะลอการเพิ่มขนาดสายส่ง และช่วยรองรับปริมาณของ Renewable power system ในระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ รวมถึงสร้างเสถียรภาพทางการจ่ายไฟฟ้า ทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพ และยังช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกด้วย

ดร.จิราวรรณ  กล่าวว่า ตลาดการใช้งานของระบบกักเก็บพลังงานสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Utility scale สำหรับโรงไฟฟ้าหรือการไฟฟ้าขนาดใหญ่ , กลุ่ม Behind the meter ผู้ใช้ไฟตามบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และ กลุ่ม Microgrid  ซึ่งระบบกักเก็บพลังงานสามารถติดตั้งได้ทุกส่วนของระบบไฟฟ้า ตั้งแต่การสร้างจนถึงระบบของการผลิต อย่างไรก็ตาม ระบบกักเก็บพลังงานถือว่ามีโอกาสที่จะเติบโตได้ในประเทศไทย แต่เราทุกคนต้องช่วยกันขับเคลื่อนเรื่องกฎหมายระเบียบข้อบังคับ และการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายไฟฟ้า (GridCode)  เพื่อให้ระบบกักเก็บพลังงานสามารถเติบโตและนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

เกษียร สุขีโมกข์

นอกจากนี้ ในการเสวนาหัวข้อ “ตัวอย่าง กลไกสำคัญ ปัญหา อุปสรรค โอกาสและการใช้ประโยชน์จากระบบกักเก็บพลังงานในระบบไฟฟ้า” เกษียร สุขีโมกข์ กรรมการผู้จัดการ PEC Technology Thailand Co.,Ltd. กล่าวถึงอุปสรรคของระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าว่า ราคาของแบตเตอรี่ในช่วงที่ผ่านมาถือว่ามีราคาแพง และยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทำให้ระบบกักเก็บพลังงานใช้งานได้อย่างจำกัด เราจึงจำเป็นต้องใช้งานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด เช่น ช่วงเวลาที่มีพลังงานสูง เราจะใช้ลิเธียมแบตเตอรี่ เพื่อบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จรินทร์ หาลาภี

จรินทร์ หาลาภี วิศวกรไฟฟ้า 9 ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมระบบไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า ปัจจุบันเราได้ประยุกต์ใช้ระบบกักเก็บพลังงานในโครงข่ายไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง โดยแบ่งเป็น 4 โครงการหลัก ได้แก่ 1.การนำระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในระบบ Microgrid ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตราชบูรณะ 2.การนำระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าขนาด 2 Wh มาติดตั้งที่สถานีไฟฟ้าย่อยปทุมวัน ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการ 3.การจัดเก็บระบบโซลาร์เซลล์และกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่แผนกโลจิสติกส์ การไฟฟ้านครหลวงบางพูด และ 4.การนำร่องทดลองติดตั้งแบตเตอรี่

รศ.ดร.กีรติ ชยะกุลคีรี

รศ.ดร.กีรติ ชยะกุลคีรี หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า เรามี usecase ร่วมกับ GPSC VSPP และ SCG ในการติดตั้ง Solar Floating และติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานที่หอพักนักศึกษา รวมถึง Solar Rooftop ที่อยู่ตามอาคารต่างๆ ในมหาวิทยาลัย และการออกแบบการติดตั้ง ESS ที่สุรนิเวศ 5 โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการ Zero import Energy ในช่วงเวลาที่ PV ไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในช่วง 18:00-22:00 ที่สามารถทำ Zero import Energy ได้ถึง 98% ขนาด 100 kW/200 kWh

ลักษณะปริชา ครุฑขุนทด

ลักษณะปริชา ครุฑขุนทด ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการพาณิชย์ บริษัท นูออโว พลัส จำกัด กล่าวว่า บริษัทนูออโวพลัส เป็นบริษัทที่ร่วมกันระหว่างกลุ่มปตท. ที่ดูแลเรื่อง EV และ GPSC ที่เป็น flagship ด้านไฟฟ้า เราจึงมีหน้าที่เป็นผู้จัดหาโซลูชันให้แก่ลูกค้า ตั้งแต่การเก็บ Reqirement การออกแบบแบตเตอรี่โซลูชันให้เหมาะสม จัดหาอุปกรณ์ติดตั้ง รวมถึงการบริการหลังการขาย โดยโครงการทั้งหมดที่เราทำสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ทั้งหมด 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีความต้องการผลักดันนโยบายกรีน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้พลังงานสะอาดมากที่สุด 2.กลุ่มที่เน้นเรื่อง economics เป็นหลัก และ 3.กลุ่มที่นำแบตเตอรี่ลิเธียมมาใช้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะเน้นในเรื่องของความคุ้มค่าเป็นหลัก


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save