กฟผ.บูรณาการจัดการพลังงานอย่างครบวงจร ก้าวสู่ยุค Energy 4.0


การขับเคลื่อนพลังงานให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ภายใต้แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว  (2558-2579) 5 เสาหลัก ประกอบด้วย แผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ และแผนบริหารจัดการน้ำมัน กฟผ. ได้กำหนดเรื่องเร่งด่วนที่ จะต้องดำเนินการจำนวน 13 เรื่อง ซึ่งมีการเรื่องการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนควบคู่ไปกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดย กฟผ. จะเป็นผู้นำด้านโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน

 

สถิต สุขอนันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการด้านการใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการบูรณาการเพื่อการจัดการในอนาคตของกฟผ. โดยมี 3 แผนหลักที่ กฟผ.มีส่วนในการช่วยผลักดัน คือ แผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (ADEP) ด้านการอนุรักษ์พลังงาน กฟผ.ยังมีแนวทางในการประหยัดพลังงาน โดยดำเนินการควบคู่กันไป ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน ตั้งแต่ปี 2558-2579 (EEP 2015) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ แผนอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวกับภาครัฐ ภาคเอกชน และการขนส่ง ในภาครัฐทาง กฟผ.เข้าไปมีส่วนในการที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ภาครัฐเกิดการใช้พลังงานทอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 รวมกันถึง 28 ผลิตภัณฑ์ และนอกจากนี้ในเรื่องของระบบขนส่ง กฟผ. มีการพัฒนารถไฟฟ้าต้นแบบ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าดัดแปลงที่ กฟผ.ทำการวิจัยและพัฒนาขึ้นมา ทั้งนี้ใน 3 ส่วนข้างต้น เมื่อเข้าไปอยู่ในแผน จะถูกแบ่งออกเป็นภาคบังคับ ภาคความร่วมมือ และภาคสนับสนุน โดยในเป้าหมายของแผนเมื่อสิ้นแผนในปี 2579 จะต้องสามารถลดการใช้พลังงานได้ 51,700 ktoe หรือเทียบเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าประมาณ 90,000 kWh

“ด้านการขนส่ง กฟฝ.ได้ศึกษารถยนต์ดัดแปลง โดยวิจัยร่วมกับทาง สวทช.เพื่อที่จะดัดแปลงรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ช่วยให้ผู้ที่มีรถยนต์เก่าสามารถปรับเปลี่ยนอย่างเช่น การเปลี่ยนจากถังน้ำมันเป็นแบตเตอรี่ นำมาใช้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคต และสุดท้ายปลายแผนการวิจัยในปี 2563 คาดว่าค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้าจะลดลง”

สถิต สุขอนันต์
สถิต สุขอนันต์

ส่วนของแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของ กฟผ. ปี 2559-2579 มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน เพิ่มขึ้น 15,00-20,000 เมกะวัตต์ ณ ปลายแผย PDP 2015 โดยจะกระจายไปทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็น โซลาร์เซลล์ ชีวมวล พลังน้ำ พลังงานลม และพลังงานขยะ เป็นแผนระยะยาวที่กฟผ.ได้ดำเนินการ เช่น โครงการโรงไฟฟ้ากังหันลม ลำตะคอง 24 เมกะวัตต์  โดยผนวกกับ Energy Storage เพื่อแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นก๊าซไฮโดรเจนไปกักเก็บไว้ที่ถังเก็บก๊าซไฮโดรเจน เมื่อต้องการใช้ไฟฟ้า ก๊าซไฮโดรเจนที่ถูกเก็บไว้จะนำไปผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง โดยเซลล์เชื้อเพลิงติดตั้งที่โรงไฟฟ้ากังหันลม ลำตะคองนี้มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าได้ 300 กิโลวัตต์ จะจ่ายไฟฟ้าเข้าศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ลำตะคอง ทั้งนี้ หากปริมาณไฟฟ้ามากกว่าความต้องการก็จะจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบส่งเพื่อนำไปใช้ได้ต่อไป และนอกจากนี้ยังมีโครงการทดลองพลังงานทดแทน ในพื้นที่ทับสะแก ได้แก่ โซลาร์เซลล์ 5 เมกะวัตต์ ต้นแบบก๊าซชีวภาพ 500 กิโลวัตต์ กังหันลมแนวนอน 250 กิโลวัตต์ และศูนย์นวัตกรรม สร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพลังงาน

สถิต สุขอนันต์ กล่าวว่า กฟผ.ในฐานะผู้รับผิดชอบระบบผลิตและระบบส่งไฟฟ้าได้มีการจัดทําแผนระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Gird) ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย ภายใต้การวิจัยได้จัดทำโครงการนำร่องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) เหตุผลในการเลือกแม่ฮ่องสอนเป็นโครงการต้นแบบนำร่อง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าเขา และยังเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ระบบส่งไฟฟ้าแรงดันสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ยังไม่สามารถเข้าถึงได้ ไฟฟ้าบางส่วนจึงต้องถูกจ่ายมาจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งต้องผ่านพื้นที่ป่าเขา จึงทำให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนมักประสบปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องบ่อย

สำหรับโครงการ Smart Gird แม่ฮ่องสอน จะประกอบด้วย โรงไฟฟ้าหลักที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซล โรงไฟฟ้าผ่าบอง ใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ และพลังน้ำ ที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นผู้ดูแล โครงการดังกล่าวจะสมบูรณ์จะต้องประกอบด้วย Smart Energy เป็นการพัฒนาระบบด้านการจัดหาไฟฟ้า โดยพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ Smart System มีระบบควบคุมและปฏิบัติการทางไฟฟ้าเป็นตัวกลางประสานเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ Smart City พัฒนาระบบ เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีส่วนร่วมต่อการรักษาระดับความมั่นคงและประสิทธิภาพของระบบ และ Smart Learning การพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ และเพื่อให้พลังงานที่ผลิตได้มีความมั่นคงของระบบไฟฟ้ามากขึ้น จึงได้ติดตั้งระบบเก็บกักพลังงานประเภทแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System) เพื่อใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง นอกจากนี้โครงการนี้ยังทำให้ชุมชนมีความเป็น Smart Home และ Smart City สามารถบริหารจัดการเรื่องของการใช้ไฟฟ้าในอาคาร นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานในยุค 4.0 (Energy 4.0) หากมีการบูรณาการทั้งหมด ทั้งในส่วนของ Smart Gird Smart City และ Smart Home จะเป็นตัวช่วยทำให้ Energy 4.0 บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยชุมชนสามารถผลิตพลังงานเองได้เอง พึ่งพาการใช้พลังงานภายในชุมชนด้วยการบริหารและการควบคุมที่ดี

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ได้ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับโครงสร้างการดำเนินงานของระบบไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าให้สามารถรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ เป็นต้นแบบเศรษฐกิจสีเขียว และเป็นต้นแบบของเมืองที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

“ในการบูรณาการเพื่อการจัดการในอนาคตของ กฟผ. มองว่า วิธีการบูรณาการในเรื่องการจัดการพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน Supply หรือ Demand ควรจะมีการจัดการที่รวดเร็ว ช่วยให้มองเห็นสภาพการใช้พลังงานต่างๆทั้งระบบพร้อมกัน โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าหากมีความ Smart ดูแลและควบคุมระบบได้ดีแล้ว จะทำให้การจัดการพลังงาน สามารถจะตอบสนองได้ทันท่วงที เกิดการใช้ประโยชน์จากพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด”


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save