รัฐฯ-เอกชน ผนึกกำลัง พาไทยก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ


เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็น เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart city นั้น เราได้ยินการพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง ในทุกๆ ภาคส่วน แต่อาจจะยังมองเห็นภาพไม่ชัดเจนนักว่าจะสามารถพัฒนาไปทางไหนอย่างไร ในขณะที่ภาพความสำเร็จจากมหานครทั่วโลก ที่ได้นำเอาเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามาปรับใช้ในเมืองให้ได้รับความสะดวกสบายปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่ตลอด ดังนั้น จึงได้มีการจัดงานสัมมนา Delta Future Industry Summit 2018 ขึ้น เพื่อระดมสมองของแต่ละฝ่าย ร่วมปรึกษาหารือกันในเรื่องของการก้าวสู่ Smart City ในอนาคตอันใกล้ของประเทศไทย

เมืองอัจฉริยะ

โดยงานนี้ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและพัฒนาโซลูชั่นและนวัตกรรมสำหรับเมืองอัจฉริยะ ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ซึ่งรวบรวมผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจตัดสินใจ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงสื่อมวลชน มาพบปะและหารือเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมประเทศไทย โดยหัวข้อสำหรับงานประชุมอุตสาหกรรมที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ คือ Innovations for Smart Cities หรือ นวัตกรรมสำหรับเมืองอัจฉริยะ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดแนวคิดและหนทางที่จะผลักดันเมืองไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและระบบเศรษฐกิจดิจิทัลอัจฉริยะมากขึ้น

เมืองอัจฉริยะ

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงความคืบหน้าในส่วนของภาครัฐว่า ในปี พ.ศ. 2561 รัฐบาลได้มีแผนที่จะขยายโครงการสมาร์ทซิตี้ เพิ่มขึ้นอีก 6 จังหวัด ที่จากเดิมมีเพียงจังหวัดภูเก็ตจังหวัดเดียว ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง สำหรับในกลุ่ม 3 จังหวัดใหม่ที่จะสนับสนุนให้เป็นสมาร์ทซิตี้ คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ที่อยู่ในเขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า สมาร์ทอีอีซี ซึ่งได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว

“บทบาทของภาครัฐคือการส่งเสริมให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริงด้วยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการผลักดันโครงการดังกล่าวนี้ จากแนวโน้มของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงมีจำนวนมากกว่า 50% ของประชากรโลก และจะทยอยเพิ่มขึ้นตามลำดับในอนาคต นับเป็นทิศทางสำคัญที่ส่งผลให้ต้องเร่งดำเนินการโครงการสมาร์ทซิตี้ เพื่อขยายผลการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยปัจจัยสำคัญที่จะเกิดขึ้นได้ของโครงการดังกล่าวคือ การยอมรับของประชาชนในพื้นที่กับหน่วยงานในพื้นที่ที่จะร่วมกันผลักดัน” ดร.พันธ์ศักดิ์ กล่าว

ในอีกมุมมองจากฝั่งของนักวิชาการ ผศ. ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มาแบ่งปันบทเรียนสำคัญๆ ที่ได้จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการสร้างเมืองอัจฉริยะ กล่าวว่า มีองค์ประกอบสำคัญในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐและประชาชนผ่านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มาช่วยแก้ปัญหา โดยปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดเมืองอัจฉริยะประกอบด้วย การที่ประชากรย้ายเข้าสู่เมืองเพิ่มขึ้น การมองหาความโปร่งใสในกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น การที่มีเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงและจัดการข้อมูลจำนวนมาก ทิศทางของสังคมและปัญหาเรื่องสภาวะแวดล้อม

ทั้งนี้เมืองอัจฉริยะจะมาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ลดการใช้พลังงาน ลดปัญหาการจราจร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยให้กับชุมชนในเมือง ผ่านกริดในด้านต่างๆ ที่เชื่อมโยงกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมพลังงาน การจราจร
การจัดการคุณภาพอากาศและน้ำ การจัดการที่จอดรถ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ซึ่งเหล่านี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ภาครัฐจัดการเป็นส่วนใหญ่ โดยอาจจะมีภาคเอกชนเข้าไปร่วมด้วยในบางกิจกรรม

เมืองอัจฉริยะ

ผศ. ดร.นพพร มองว่า สิ่งสำคัญคือการเชื่อมโยงกันระหว่างข้อมูลของระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ กับประชาชน โดยการจะเปลี่ยนเมืองสู่เมืองอัจฉริยะในด้านใดขึ้นกับการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละชุมชนที่จะเลือกประเด็นที่ต้องการพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ จากนั้นจึงมองหาพาร์ตเนอร์ที่เข้ากับเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยต้องคำนึงถึง ความคุ้มค่าและยั่งยืนที่จะเกิดขึ้น ด้วยการบริหารจัดการข้อมูลที่เชื่อมโยงสังคม สภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจในการกำหนดแผน

โดยสรุปแล้วไม่ว่าจะเลือกพัฒนาเมืองสู่เมืองอัจฉริยะในด้านใดทั้งผู้ช่วยรัฐมนตรีและนักวิชาการมองไปในทิศทางเดียวกันว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะคือ การมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและประชาชนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยหนุนให้โครงการต่างๆ เดินหน้าไปได้อย่างยั่งยืน โดยอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ เป็นตัวช่วย

เมืองอัจฉริยะ

ด้าน เซีย เชน เยน ประธานบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สมาร์ทซิตี้ หรือ เมืองอัจฉริยะ มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อรวบรวมข้อมูลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในเมือง โครงการริเริ่มไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และเมืองอัจฉริยะคือคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับความท้าทายและโอกาสแห่งโลกสมัยใหม่ สิ่งที่เดลต้าให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ นั่นคือ การพัฒนาโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งประกอบด้วย พลังงานทดแทน ระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติ เครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า และอาคารสีเขียว

“เราต้องการให้คนรุ่นใหม่ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีโดยสนับสนุนเทคโนโลยีที่ทำให้เมืองของเรามีความอัจฉริยะขึ้น มีความยั่งยืนและประหยัดพลังงานมากขึ้น เราได้เห็นการลดลงของเทคโนโลยีเก่าๆ ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ที่ใช้น้ำมันและการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปสู่เทคโนโลยีอัจฉริยะ และเทคโนโลยีสะอาดเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ชีวิตของเราและเพื่อบริหารจัดการเมืองที่เราอาศัย แต่การเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีกว่าจะได้รับแรงผลักดันที่แท้จริงก็ต่อเมื่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทำงานร่วมกันและให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการบริหารจัดการเมืองต่างๆ” เซีย เชน เยน กล่าว

จากความคิดเห็น คำแนะนำ และการกล่าวรายงานความคืบหน้าในของทุกภาคส่วน อาจทำให้พูดได้ว่า ประเทศไทยกำลังเดินหน้าพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะอย่างเต็มตัว แต่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะนั้น ยังมีอีกหลายส่วนประกอบกัน แต่เป้าหมายโดยรวมก็คือ การสร้างสังคมคุณภาพที่จะรองรับการขยายตัวของสังคมเมือง โดยเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเข้าด้วยกันแบบบูรณาการผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า ทำให้ได้รับคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเป็นเมืองที่น่าอยู่ในลักษณะของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจะเกี่ยวพันไปถึงการเพิ่มโอกาสในการต่อยอดทางธุรกิจ การเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของเมือง กระทั่งเป็นเมืองที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save